ใครเป็นใคร? 6 แบรนด์ชั้นนำของโลกที่ “แสนสิริ” ร่วมทุนด้วย

วันก่อนซู่ชิงมีโอกาสได้ไปร่วมงานแถลงข่าวอันยิ่งใหญ่อลังการที่จัดขึ้นโดย “แสนสิริ” หนึ่งในผู้นำวงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ภายใต้สโลแกนว่า “Everyday Visionaries” ซึ่งตลอดทั้งปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดว่าวงการนี้แข่งขันกันดุเดือดแค่ไหนในการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามา disrupt เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการของตัวเอง ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจมากว่ามูฟในครั้งนี้ของแสนสิริจะเป็นไปในทิศทางไหน และจะสะท้อนให้เห็นวิสัยทัศน์ของแบรนด์ได้อย่างไรบ้าง

ภายในงานแสนสิริประกาศแผนการลงทุนมูลค่า 80 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2,800 ล้านบาท ซึ่งความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าการลงทุนครั้งนี้นับเป็นการพัฒนาที่อยู่นอกเหนือธุรกิจหลักของแสนสิริเป็นครั้งแรก เพราะเม็ดเงินทั้งหมดเหล่านี้ลงทุนไปกับการเข้าถือหุ้นใน 6 แบรนด์สากลที่อยู่ในแวดวงเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงในตลาดโลก ซึ่งก็หมายความว่า 6 แบรนด์นี้จะเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่ของแสนสิรินอกประเทศไทยนั่นเอง

เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า 6 แบรนด์ ที่แสนสิริเข้าไปร่วมลงทุนด้วยมีแบรนด์อะไรบ้าง ใครเป็นใคร และเขาทำอะไรกัน

  1. The Standard

A9A06102 (1800x1200) The Standard ที่เห็นโลโกกลับหัวเนี่ยไม่ใช่วางผิดนะคะ แต่เนื่องจาก The Standard เป็นแบรนด์ในธุรกิจบูติกโฮเทล ที่มีโรงแรมในเครือทั้งหมด 5 แห่ง กระจายตัวตามเมืองใหญ่อย่าง นิวยอร์ก ลอสแองเจลีส ไมอามี ซานฟรานฯ และกำลังจะเปิดให้บริการที่ลอนดอน เป็นเครือที่บุกเบิกโรงแรมแบบไลฟ์สไตล์ ทำให้ผู้เข้าพักได้สัมผัสกับชุมชนและวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นอย่างใกล้ชิดและมีดีไซน์ที่กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ด้วยความที่ต้องการขบถฉีกแนวทางเดิมๆ นี่เอง ก็เลยทำให้ The Standard วางโลโกกลับหัวอย่างที่เห็น และนอกจากจะเน้นเรื่องที่พักที่แตกต่างแล้ว เดอะ แสตนดาร์ด ยังให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ในแง่มุมอื่นๆ อย่างเช่น วัฒนธรรม อาหารการกิน อีเวนท์ต่างๆ ศิลปะ งานดีไซน์ ดนตรี ฯลฯ สรุปก็คือเป็นแบรนด์ที่รวมความเป็นไลฟ์สไตล์ของผู้คนเข้าไว้ด้วยกันในที่เดียวนั่นเอง

ส่วนการลงทุนจะนำไปสู่อะไร ต้องไปอ่านข้างล่างกันต่อค่ะ

Screen Shot 2560-11-12 at 2.58.47 PM

2. One Night

A9B05551 (1800x1200) One Night เป็นโปรดักต์ที่แตกไลน์ออกมาจาก The Standard อีกทีหนึ่งค่ะ นี่คือแอปพลิเคชันสำหรับการจองโรงแรมที่ The Standard ได้พัฒนาขึ้น คอนเซ็ปต์คือการใช้จองโรงแรมในวันเดียวกับที่เข้าพัก นำเสนอทางเลือทกี่ง่ายและมีประสิทธิภาพในการวางแผนและจองที่พักในวันเดียวกัน (คอนเซ็ปต์ตรงกับไลฟ์สไตล์ซู่ชิงผู้ซึ่งเกลียดการวางแผนเดินทาง ที่พัก ล่วงหน้าเยอะๆ เป็นอย่างมาก) ผู้ใช้เพียงแค่กดครั้งเดียวก็พร้อมจองที่พักได้ทันที
มาขยายรายละเอียดการใช้งานเพิ่มกันสักหน่อยค่ะ หลังจากเวลาบ่ายสามของทุกวัน ผู้ใช้แอปจะสามารถกดเข้าไปจองห้องพักในโรงแรมกว่า 150 แห่งทั่วโลกได้ด้วยราคาพิเศษ ได้ดีลแบบนาทีสุดท้าย โดยที่ไม่ต้องกลัวว่ามาจองแบบกระชั้นชิดจ่อคอหอยขนาดนั้นแล้วราคาจะแพงหูฉี่ ตัวแอปยังนำเสนอข้อมูลพิเศษให้เช็คได้เป็นรายชั่วโมง เช่น เมื่อเข้าพักแล้ว ควรต้องไปใช้สิทธิทำอะไร ดูอะไร ใช้บริการอะไร กินอะไร ดื่มเครื่องดื่มประเภทไหน และจะต้องไปไหนในละแวกใกล้ๆ บ้าง เพื่อให้ไม่พลาดตักตวงสิทธิประโยชน์ทั้งหมดจากการพักได้อย่างเต็มที่ คุ้มแสนคุ้มไม่มีขาดทุน

การลงทุนของแสนสิริในครั้งนี้ จะช่วยในก
รรมแอปพลิเคชัน One Night ซึ่งเป็นโปรดักต์ของ The Standard ให้เติบโตในตลาดนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียได้มากขึ้นค่ะ

LRG_DSC01395
One Night Stand…Get it? haha

3. Hostmaker 

A9B05580 (1800x1200)

เราเคยได้ยินชื่อของ Airbnb อยู่บ่อยๆ แต่อาจจะไม่คุ้นหูกับ Hostmaker สักเท่าไหร่ ซึ่งไอเดียของ Hostmaker เนี่ยเจ๋งไม่เบาเลยนะคะ เพราะ Hostmaker จะเข้ามาช่วยบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเช่าและอยู่อาศัยสำหรับ Airbnb หรือพูดง่ายๆ ก็คือ หากเราต้องการปล่อยห้อง ปล่อยบ้าน เพื่อให้คนมาเช่าพักผ่านทางแพลตฟอร์ม Airbnb แต่ไม่มีเวลาไปดูแลบริหารด้วยตัวเอง ก็ใช้บริการของ Hostmaker นี่แหละค่ะเข้ามาช่วย

บางครั้งเวลาที่เราจะเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไหนสักแห่ง เราอยากจะจองที่พักที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้าน หรืออยู่นานๆ ได้ในราคาที่ย่อมเยากว่านอนโรงแรม แต่ก็ติดตรงที่ว่าบ้านพักใน Airbnb บางทีก็ไม่พรีเมียมสักเท่าไหร่ ไม่มีคนคอยดูแล หรืออาจจะไม่ได้ตกแต่งสวยมาก Hostmaker เข้ามาช่วยทำให้วิน วิน ทั้งสองฝ่าย คนเข้าพักก็ได้พักในที่สะดวกสบายตกแต่งสวยงามมีสไตล์ ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีตลอดการเข้าพัก ส่วนเจ้าของที่พักก็ไม่ต้องทำอะไรมาก มีคนกลางมาจัดการดูแลให้หมด แม้กระทั่งขั้นตอนของการส่งตัวแทนไปต้อนรับ มอบกุญแจบ้าน แถมยังทำให้แม้กระทั่งช่วยตกแต่งภายใน ถ่ายภาพบ้าน ห้องพัก ให้ใช้เป็นโพรไฟล์ได้สวยๆ เพิ่มยอดจองห้องพักด้วย

ภายใต้การลงทุนในครั้งนี้ Hostmaker จะขยายธุรกิจสู่เอเชียภายใต้การสนับสนุนของแสนสิริ ซึ่งก็จะทำให้เราจะมีที่พักสไตล์เก๋ๆ พรีเมียมๆ ให้เลือกสรรกันมากขึ้นด้วย

Screen Shot 2560-11-12 at 3.28.15 PM.png

4. JustCo

A9A06240 (1800x1200)

JustCo เป็นผู้ให้บริการพื้นที่ในลักษณะของโคเวิร์คกิ้ง สเปซ ซึ่งเราน่าจะได้ยินคำนี้กันจนคุ้นหูไปแล้ว โดยที่ JustCo ถือเป็นโคเวิร์กกิ้ง สเปซ ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่เปิดดำเนินการอยู่ทั้งหมด 11 แห่ง เกิดมาจากวิสัยทัศน์ว่าทำไมพนักงานจะต้องนั่งทำงานหน้าคอมอยู่ที่โต๊ะตัวเดิมๆ ตลอดเวลา หรือทำไมฟรีแลนซ์จะออกไปทำงานนอกบ้านบ้างไม่ได้ ในเมื่อการออกไปนั่งทำงานในพื้นที่แบบโคเวิร์กกิ้ง สเปซ​ นอกจากจะไม่เหงา ไม่หดหู่ อยู่คนเดียวแล้ว ก็อาจจะยังได้ต่อยอดคอนเน็กชันจากการนั่งทำงานที่เดียวกันให้กลายเป็นการร่วมมือทางธุรกิจกันได้อีกด้วย ซึ่งบริษัทที่ใช้บริการของ JustCo ที่เป็นที่รู้จักก็อย่างเช่น PwC’s Venture Hub, Dropbox และ Salesforce เป็นต้น จุดเด่นอีกประการของ JustCo คือการจัดกิจกรรมสำหรับสมาชิกอย่างสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกันในหมู่สมาชิก และยังออกแบบสเปซให้มีพื้นที่กว้างขวาง แสงธรรมชาติส่องถึง เฟอร์นิเจอร์ทันสมัย มีพื้นที่ความบันเทิงไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม หรือเล่นกีฬา มีองค์ประกอบทุกอย่างที่กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์​แล้ว ส่วนจะนำไปต่อยอดได้แค่ไหนอันนี้ก็คงขึ้นอยู่กับความสามารถและความตั้งใจของแต่ละคนในท้ายที่สุด ซึ่งแสนสิริ และ JustCo จะร่วมกันวางแผนเปิดตัว JustCo สาขาใหม่ 4 แห่งในกรุงเทพ ภายในปี 2018

JustCo

5. Farmshelf

A9A06272 (1800x1200)

Farmshelf เป็นคำตอบสำหรับคนเมืองที่ต้องการปลูกผักสวนครัวแบบเสมือนยกไร่จากชนบทเข้ามาไว้ในเมืองยังไงยังงั้น โปรดักต์หลักของแบรนด์ก็คือเครื่องปลูกผักไฮดรอโปนิกในร่ม ขนาดเท่าชั้นหนังสือ ผสมผสานการออกแบบอุตสาหกรรมที่เรียบง่ายเข้ากับวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมทางพฤกษศาสตร์ที่ทันสมัย ทำให้เราปลูกเอง เก็บเอง กินเอง ได้จบครบทุกกระบวนการ ชนิดที่ไม่ต้องมีทักษะทางการเกษตรใดๆ ไม่ต้องใช้ดินให้วุ่นวายแต่ก็ได้สารอาหารที่ครบถ้วน ผักที่ปลูกด้วย Farmshelf จะเจริญเติบโตเร็วกว่าผักที่ปลูกด้วยวิธีดั้งเดิมถึงสองเท่า และใช้น้ำน้อยกว่าประมาณร้อยละ 90

เทคโนโลยีของ Farmshelf นั้นทำงานภายใต้เซ็นเซอร์และโปรแกรมที่จะควบคุมกลไกให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช และใช้แอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนมาช่วยให้ผู้ปลูกตรวจสอบค่า pH สภาพอากาศ และการถ่ายเทอาการได้ด้วยตัวเอง แถมยังเตือนเมื่อได้เวลาเก็บเกี่ยวด้วย ดูใช้งานง่ายมากๆ แต่จะ fool proof แค่ไหน ต้องให้ซู่ชิงได้ลองก่อนนะคะ พืชผักไหนที่ผ่านมือซู่ชิงแล้วเจริญเติบโตงอกงามขึ้นมาได้เนี่ยถือเป็นการการันตีเลยว่าทุกคนบนโลกก็จะทำได้เช่นเดียวกัน (555) การร่วมมือกับแสนสิริในครั้งนี้ก็แปลความได้ง่ายๆ ว่า ในอนาคตลูกบ้านของแสนสิริก็จะมีชั้นวางผักแบบนี้อยู่ในบ้านนั่นเองค่ะ LRG_DSC01397Maker:S,Date:2017-8-20,Ver:6,Lens:Kan03,Act:Lar02,E:Y

6. Monocle 

A9B05713 (1800x1200)

มาถึงแบรนด์สุดท้าย ที่เป็นแบรนด์ในใจซู่ชิงมาโดยตลอด และเป็นแบรนด์ที่ดูเหมือนจะแตกต่างจากแบรนด์ 5 แบรนด์ด้านบนซึ่งยังพอมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตในที่อยู่อาศัยอยู่บ้าน แล้ว Monocle จะเป็นจิ๊กซอว์ที่ลงตัวในการลงทุนครั้งนี้อย่างไรบ้าง

Monocle เป็นสื่อไลฟ์สไตล์ที่ได้รับการยอมรับระดับโลก นอกจากการออกแบบรูปเล่ม ปก กราฟิค ภายในที่สวยงาม หมดจด คลาสซี่แต่มินิมอล แล้ว เนื้อหาข้างในก็ยังเจ๋งไม่แพ้กัน ทำให้ Monocle เป็นแบรนด์ที่มีอิทธิภาพต่อเทรนด์และไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก Monocle ขยายขอบเขตของตัวเองออกไปกว้างกว่าการเป็นสื่อ แต่ยังเข้าไปอยู่ในธุรกิจด้านร้านค้าในรูปแบบรีเทลด้วยเนื้อหาหลักๆ ที่ Monocle นำเสนอนั้น เกี่ยวข้องกับเรื่องราวข่าวสารต่างๆ ทั่วโลก ครอบคลุมชีวิตคนเมือง วัฒนธรรม ดีไซน์ และเราจะเห็นว่า Monocle ภายใต้การนำของบรรณาธิการใหญ่และประธานบริษัท อย่าง ไทเลอร์ บรูเล่ นั้นให้ความสำคัญกับ “ความเป็นเมือง” เป็นอย่างมาก เพราะเมืองที่ดีเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตของคนที่อยู่อาศัยสมบูรณ์แบบ สิ่งที่น่าตื่นเต้นคือ แสนสิริมีแพนที่จะพัฒนาโครงการที่พักอาศัยแบบมิกซ์ยูสแนวคิดใหม่ร่วมกับ  Monocle ในกรุงเทพฯ​ในปี 2018 ด้วยLRG_DSC01409

บทสรุป

ทั้งหมดนี้ก็คือ 6 แบรนด์ระดับโลกที่แสนสิริร่วมลงทุนด้วย ซึ่งเราก็น่าจะได้เริ่มเห็นการลงทุนเป็นรูปเป็นร่างภายในปี 2018 สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนคือ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วเหมือนในปัจจุบันนี้ ไม่สามารถทำได้แค่เพียงการลงทุนในตัวอาคาร ที่พักอาศัย อิฐ หิน ดิน ปูน เหล็ก แต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ต้องเป็นการลงทุนที่ขยายขอบเขตให้กว้างขึ้นเพื่อครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของคน ไปจนถึงการพัฒนาคอนเซ็ปต์ของ “เมือง” เมื่อเมืองเป็นเมืองที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรได้แล้วในที่สุดก็จะเพิ่มมูลค่าของโครงการได้เอง ซึ่งการจะทำแบบนี้ ทำด้วยตัวเองคนเดียวก็ดูจะเป็นภารกิจเข็นครกขึ้นภูเขา จึงต้องจับมือไปด้วยกันกับพาร์ทเนอร์ที่มีความเก่งกาจเชี่ยวชาญในสาขาที่ตัวเองทำแบบนี้นี่แหละค่ะ *This blog is sponsored by Sansiri

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s